5 การวางโครงสร้างโปรเจก

ถ้าเขียนโค๊ดไปด้วย แล้ววางเทสไปเรื่อยเปี่อย เวลาจะสงโปรดัก เราก็ต้องมานั่งไล่ลบเทสเคสอีก
แต่จะให้เอาไปไว้ในแพกเกจอื่น บางทีเทสของเราจำเป็นต้องเข้าไปเทสในส่วนของ protected ซึ่งแพกเกจอื่นมันทำไม่ได้ protected ให้เข้าได้เฉพาะ

1. Derived Class
2. คลาสที่อยู่ใน package เดียวกัน

แต่ว่า Junit ของเราไม่ได้ Dereived จากโดเมนคลาส และเราก็ไม่อยากให้เอาไปปนกับ คลาสที่เราวางโค๊ดไว้ด้วย. วิธีการก็คือ ให้เอาไว้ใน package เดียวกันนั่นแหละ เพราะ เราจำเป็นต้องใช้ในส่วนของ protected แต่ก็ให้แยกกันอยู่ แยกกันอยู่คนละ Source Folder . จะเป็นยังไง ไปดูกัน


1 . คลิกที่ File > New > Java Project



แล้วก็กด Finish.

คุณก็จะได้ โปรเจกออกมาอันหนึ่ง เปิดเข้าไปที่ Calculator ก็จะเห็น src เตรียมไว้ให้เรา
ให้ทำขั้นตอนต่อไป

2. คลิกขวาที่ src > New > Source Folder .

ถึงตรงนี้ จะมีหน้าต่าง  New Source Folder ป๊อปอับขึ้นมา ในส่วนของ Folder Name ให้ตั้งชื่อว่า

main/java

แล้วกด Finish คุณก็จะได้ main/java โฟเดอร์ขึ้นมาถัดจาก src  จากนั้นก็ให้ทำแบบเดียวกันอีกครั้ง คือ คลิกขวาที่ src > New > Source Folder . และ Folder Name ให้ตั้งชื่อว่า

test/java

ตอนนี้คุณก็จะได้ Source Folder เพิ่มขึ้นมาอีก 2 อัน ลำดับต่อไปเราจะมาสร้างแพกเกจเดียวกัน แต่อยู่คนละ Source Folder

3. คลิกขวาที่ main/java > New  > Package แล้วตั้งชื่อ แพกเกจของคุณ ในที่นี้เราจะให้ชื่อว่า

com.javachef.core

แล้วกด Finish. เสร็จสิ้นแล้ว คุณก็จะได้ เพกเกจใหม่ ภานใต้ main/java

4. คลิกขวาที่ test/java > New > Package แล้วก็ตั้งชื่อเหมือนกันกับข้างบนนั้นก็คือ

com.javachef.core

แล้วกด Finish ก็เป็นอันเสร็จสินแล้วครับ คุณก็จะได้โครงสร้างของ Source Folder กับ Package ดังภาพ



คราวนี้เราก็เขียนโค๊ดของเราที่ main/java แล้วก็เขียนเทสที่ test/java นอกจากจะง่ายต่อการจัดการแล้ว เรายังสามารถเข้าใช้ protected ได้ด้วย

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ติดตามโพสต่อไป เราจะไปดูเรื่อง การเขียนเทสเคสที่ดีครับ