5 Delopy โปรเจกใน Tomcat

และแล้วก็มาถึงกระบวนการสุดท้ายแล้วนะครับ คือการ deploy ขึ้นเซิฟเวอร์ แต่ในที่นี้แทนที่จะเป็น Sever จริงๆ เราก็ให้ขึ้นใน Localhost แทน หากท่านยังไม่ได้ลง Tomcat ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่โพสก่อนหน้านี่นะครับ. ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า



  1. เปิด Eclipse ขึ้นมา
  2. คลิกเลือกที่โปรเจกที่ต้องการคอมไพล์ แล้วเลือก Google plugin ไอคอนสีน้ำเงิน แล้วเลือก compile ตามภาพ 



    เพราะ Eclipse ส่วนมากแล้วนะครับ จะเรียกเครืองมือ หรือฟังก์ชั่นต่างๆตามการ select ของเรา เช่นถ้าคุณเลือกโฟเดอ Servers แล้วคอมไพล์ มันก็จะไปพยายามคอมไพล์ Server ซะเอง
  3. ก็จะปรากฏหน้าต่าง GWT Compile ขึ้นมา ให้คุณกด Compile ได้เลย . คุณจะเห็นว่า Entry Point Modules คือคลาสหนึ่งในจาวาซึ่งอยู่ที่ src\com\javachef\helloworld\client\HelloWorld.java ซึ่งคลาสนี้ได้ทำการ implements EntryPoint เอาไว้ . ครับแค่นี่แหละครับ พูดให้ฟังเล่นๆเฉยๆ คือ EntryPoint จะเป็นคลาสที่ทำการเริ่มต้นทำงานเมื่อ client เข้ามาในเว็บของเรา คล้่าย main ใน จาวาทั่วไปครับ พอคอมไพล์เสร็จก็จะได้ข้อความออกทาง console ประมาณว่า
    Compiling module com.javachef.helloworld.HelloWorld
       Compiling 5 permutations
          Compiling permutation 0...
          Compiling permutation 1...
          Compiling permutation 2...
          Compiling permutation 3...
          Compiling permutation 4...
       Compile of permutations succeeded
    Linking into D:\EcpliseEE_R2\JunitWorkSpace\HelloWorld\war\helloworld
       Link succeeded
       Compilation succeeded -- 40.995s

    ซึ่งแต่ละ permutation นี้ก็จะหมายถึงจาวาสคริปแต่ละเวอร์ชั่นที่แตกต่างกันไป อย่างถ้าผู้ใช้งานใช้ Chrome โปรเจกของเราก็จะทำการวิเคราะห์ว่าต้องใช้ JS เวอร์ชั่นไหน ถ้าเป็น IE จะต้องใช้เวอร์ชั่นไหน. เป็นไงครับสบายพุงเลยใช่ไหม ไม่ต้องมานั่นรับมือกับบราวเซอร์แต่ละชนิด Compiler จัดการให้เราเรียบร้อย ho ho ho 
  4. คอมไพล์เสร็จแล้วครับ จากนั้นก็ไปยังโฟเดอร์ war . war ย่อมาจาก Web Archive เอาไปแปลกันเองบ้างนะครับ หุๆๆ แล้วก็ select ทุกไฟล์ในโฟลเดอร์นี้  จากนั้นคลิกขวา แล้วเลือก Export ก็จะขึ้นหน้าต่าง Export ขึ้นมา ให้เลือก Archive File แล้วกด Next


  5. ตรวจสอบให้เรียบร้อยว่าเราได้เลือกไฟล์ตามที่ต้องการไหม เซ็ตที่อยู่ปลายทางให้เรียบร้อย ที่สำคัญคือ เลือกออปชั่น Create only selected directories ดังภาพ



    แล้วก็กด Finish เสร็จสิ้นไป
  6. ไปยังที่อยู่ของ Tomcat ที่คุณได้ unzip ไว้ ซึ่งเป็นที่อยู่ที่เดียวกันกับที่คุณเซ็ต Tomcat ใน Eclipse จากนั้นก็เข้าไปใน webapps โฟอเดอร์  ( apache-tomcat-7.0.54\webapps ) แล้วทำการดึง Hello.war ที่ได้จากข้อ 5 เอามาวางไว้ในโฟเดอร์นี้ โดยไม่ต้องทำการ unzip กลับไปนะครับ ประเดี๋ยว Tomcat จะจัดการ Hello.war ของเขาเอง 
  7. กลับมาที่ Eclipse อีกครั้ง แล้วทำการ Run Tomcat หากคุณยังไม่ได้รัน หรือทำการ Restart หากคุณ Run Tomcat ไปแล้ว ( จริงๆ หากคุณรัน Tomcat ไปแล้ว แล้วมี war ไฟล์ตัวใหม่เข้ามา Tomcat จะจัดการเอง โดยไม่จำเป็นต้อง restart ใหม่ ) . ซึกครู่เมื่อ Tomcat เซ็ตตัวมันเรียบร้อยแล้ว คุณจะเห็นว่าในโฟเดอร์ webapps ตามข้อ 6 จะทำการสร้างโฟเดอร์ ชื่อว่า Hello ออกมาใหม่ป้ายแดงอัตโนมัติ นี่แหละครับรีซอสของเราทั้งหมดจะอยู่ตรงนี้
  8. คราวนี้ก็มาถึงเวลาที่จะรันเว็บผ่านบราวเซอร์จริงๆละ ให้เข้าหน้าหลักของ Tomcat ผ่านบราวเซอร์ตามปกติ ถ้าเห็นแมวสีเหลืองยิ้มแฉ่ง แสดงว่าคุณยังไม่ได้ทำอะไรพัง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ดี จากนั้นก็ทำการต่อ URL ด้วย /Hello เช่น http://localhost:8082/Hello/ คุณควรจะเห็นโปรเจกของคุณรัน GWT อย่างเป็นทางการ ลองเปลี่ยน /Hello เป็น /hello หรือ /HELLO ดูนะครับว่าจะได้ผลยังไงบ้าง

เสร็จสิ้นแล้วครับ ตั้งแต่แรกจนถึงจบ ในโพสถัดๆไปเราจะมาทำความรู้จัก GWT ในภาคทฤษฏีหฤโหดพร้อมๆไปกับภาคปฏิบัติสุดฮาไปด้วยกัน พอจบ Tutorial นี้แล้ว ทางเราหวังว่าคุณสามารถใช้ความรู้นี้ไปเป็นเครื่องมือทำโปรเจกต่างๆได้ในระดับหนึ่ง และก็หวังว่าจะสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรเจกจบสายวิทย์คอมได้ด้วยครับ มาเริ่มเรียนรู้ไปทีละนิดทีละน้อยพร้อมๆกันเลยในโพสถัดไป 


ปล การติดตั้ง JBoss ก็คล้ายๆกับการติดตั้ง Tomcat ครับ แต่เวลาจะก๊อป war ไฟล์ไปวาง แทนที่จะเป็น webapps ก็เป็น jboss-as-7.1.0.Final\standalone\deployments แทน